![](http://www.starupdate.com/wp-content/uploads/2013/03/ผอ.พิมพาพรรณ-และ-3-นักออกแบบ.jpg)
ด้วยพันธกิจของการส่งเสริมสนับสนุนและทาตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ และศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยไม่หวังผลกาไร!!! ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ภายใต้การบริหาร คุณพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ผู้อานวยการฯ (ศ.ศ.ป.) เดินหน้ากางโรดแมพสานต่อทุกภารกิจที่จะทาให้สินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยไปถึงฝั่งฝัน ตอบโจทย์ทั้งเรื่องของการ “อนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมไทย” รวมถึง “รายได้ที่เพิ่มขึ้น” ของชุมชนสมาชิกกว่า 36 แห่งทั่วประเทศ!! โดย ณ ปัจจุบันทาง ศ.ศ.ป. ได้รวบรวมบุคลากรชั้นครูในแวดวงศิลปหัตถกรรมที่เรียกว่า “ครูช่าง” ทางานร่วมกับ “นักออกแบบ” สอดประสานกันในรูปแบบของทีม เพื่อรังสรรค์ผลงานชิ้นเด่นตั้งแต่กระบวนการออกแบบ, คัดสรรวัสดุ, กรรมวิธีการผลิต ฯลฯ ภายใต้แนวคิด “อนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้โดนใจสากล”
“ที่ผ่านมาทางศ.ศ.ป. ได้รับเชิญจากหน่วยงานต่างๆ ให้นาผลงานไปจัดแสดง โดยหนึ่งในงานที่ขึ้นชื่อว่าเป็นงานแสดงสินค้าระดับต้นๆ ของโลกคืองาน Maison et Objet ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส โดยหน่วยงานที่ไปจัดแสดงต้องมีผลงานเข้าตาและได้รับเชิญเท่านั้น เรื่องน่าภาคภูมิใจคือทาง ศ.ศ.ป. ได้รับเชิญเข้าร่วมงานในทุกปี รวมถึงตุลาคมปีนี้เป็นครั้งที่ 3 ปรากฏผลตอบรับเป็นอย่างดี และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ทาให้มีความเข้าใจตลาดและได้ไอเดียหลากหลายเข้ามาพัฒนาสินค้าศิลปหัตถกรรมของไทยให้โดนใจตลาดมากขึ้น”
นอกจากนี้ท่าน ผอ.พิมพาพรรณฯ ยังได้อธิบายถึงสถานการณ์ทางการตลาดว่า ที่ผ่านมาภาพรวมของตลาดงานหัตถกรรมไทย มีสัดส่วนเป็นตลาดต่างประเทศหรือกลุ่มนักท่องเที่ยวเกือบ 20% โดยสถิตินักท่องเที่ยวจากอเมริกา, ยุโรป, สแกนดิเนเวีย ฯลฯ แต่ในปัจจุบันชาติอาเซียนมีความแข็งแกร่งมากขึ้นและเป็นตลาดใหญ่ที่ให้ความสนใจในศิลปหัตถกรรมของไทย เนื่องด้วยลวดลายวิจิตรบรรจง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และผลงานเด่นหลายชิ้นเป็นงานฝีมือระดับ “ครูช่าง” ฝีมือโดดเด่นเป็นเสน่ห์ น้อยคนนักจะทาได้ ทางศ.ศ.ป. จึงมีนโยบายที่จะทาการตลาดด้านศิลปหัตถกรรมของไทยให้เข้าถึงกลุ่มนี้มากขึ้น นับรวมถึงหน่วยธุรกิจบริการขนาดใหญ่ของไทยในหมวด 3 R ได้แก่ resort, residence, restaurant ต้องช่วยกันมีส่วนร่วม, เผยแพร่ผลงานและให้การสนับสนุน โดย ศ.ศ.ป. เตรียมนาสินค้าศิลปหัตถรรมไทยกว่า 219 ผลงาน จาก 5 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผ้า เช่น ภาพแขวนผนัง พรม หมอน โคมไฟ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย จานวน 31 ผลงาน, ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เช่น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และเครื่องประดับ จานวน 64 ผลงาน, ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน เช่น เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน ประเภทโคมไฟ ถาด ฯลฯ จานวน 30 ผลงาน ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ กาไล ต่างหู จานวน 36 ผลงาน มาจัดแสดงใน กิจกรรม SACICT’s Prototype Product Design Gallery ภายในงาน “เทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ” ซึ่งกาหนดจัดขึ้น ระหว่าวันที่ 2-5 พ.ค. 2556 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา”
ด้าน คุณเพลินจันทร์ วิญญรัตน์ ดีไซเนอร์ ไดเรคเตอร์ ของโครงการฯ และหนึ่งในนักออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้า ได้เผยผลงานชิ้นเด่นที่จะมาโชว์ในงาน
“ผลิตภัณฑ์ที่นามาจัดแสดงนั้นเรียกว่าเป็นผลงานชิ้นเด่น ที่ได้รับความสนใจจากผู้ชม ในงาน Maison et Objet ณ ประเทศฝรั่งเศส คอลเลคชั่นแรกเป็นธีมนกยูง ได้แรงบันดาลใจจากลวดลายสีสันที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ ส่วนคอลเลคชั่นสองธีมชาวเขา ได้แรงบันดาลใจจากเครื่องประดับท้องถิ่น ใช้เทคนิคการผลิตแบบธรรมดาเพราะต้องการให้ชาวบ้านทาได้จริง เพียงแต่เพิ่มรูปแบบการนาเสนอให้ทันสมัย แสดงความเป็นอีสเทิร์น โดยมุมมองจากเวสเทิร์น ทั้งสีสัน เท็กซเจอร์ ออกแบบให้ได้รากของความเป็นตะวันตก ทั้งนี้ การผสมผสานไม่ได้มองตามแฟชั่นมาก เนื่องจากการออกแบบผลิตภัณฑ์สาหรับการตกแต่งที่ดีนั้น ต้องเอาชนะกาลเวลา ไม่ว่าในยุคสมัยไหนก็ยังดูสวยงาม ทันสมัย ไม่ตกเทรนด์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถรรม เป็นอมตะเสมอ เพราะทาด้วยมือ ทั้งวัสดุหรือลวดลาย ความหนักเบาที่เกิดขึ้นจากน้าหนักที่ใช้ล้วนเป็นเสน่ห์เฉพาะ”
ด้าน คุณกรกต อารมย์ดี และ คุณสิริการย์ จิรัฏฐ์ภาสกรกุล ทีมนักออกแบบผลิตภัณฑ์จักสานและเครื่องประดับ จากโครงการ “ไทยนวัตศิลป์” ซึ่งผลงานได้รับการยกย่องจากเว็บไซต์ตกแต่งชั้นนา อาทิ Design Boom เผยชิ้นงานไฮไลท์ที่จะนามาแสดง “ช่วงหลังตลาดนิยมเครื่องจักสานมาใช้ในการตกแต่ง เห็นได้ชัดจากปาฏิมากรรมฝาผนังจากวัสดุ เช่น ไม้ไผ่ หวาย นิยมใช้กันมากในโรงแรมหรู หรือของประดับในบ้านพักตากอากาศ ให้ความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติและสะท้อนรสนิยมด้านศิลปะ คอลเลคชั่นนี้เป็นทักษะงานไม้ไผ่ กับ การมัดการผูกแบบ ว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ผสมผสานกับงานสานโลหะ ใช้บันดาลใจจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้ สัตว์ มุ่งเน้นไปในทางงานตกแต่งบ้าน และเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย โดยนาเส้นทองเหลืองมาผสมผสานการจักสาน เป็นเทคนิคการเพิ่มมูลค่างานจักสานผสมผสานกับการใช้เส้นทองเหลือง ที่ลงตัวอย่างสวยงาม เพื่อให้ผลงานแสดงความรู้สึกที่นุ่มนวล อบอุ่น เบิกบาน และสงบสุขใจ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์จักสาน คือวัสดุเป็นซีทรู ปิดไฟแล้วงานไม่หาย เนื่องจากเป็นทั้งจุดกาเนิดแสงและตัดแสง สามารถเล่นกับแสงและเงาได้ ดูแล้วให้ความรู้สึกเพลิดเพลินและสะท้อนถึงคุณค่างานศิลปะ เสพได้ไม่เบื่อ ชาวต่างชาติโดยเฉพาะกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมจะชื่นชอบมาก เพราะคุ้นเคยกับเครื่องจักร เทคโนโลยีสูง ต่างกับประเทศที่มีอยู่แล้วไม่ค่อยเห็นค่า!!! ”
ณ วันนี้ เส้นทางที่สดใสของตลาดศิลปหัตถกรรมไทย ท่าน ผอ.พิมพาพรรณ แยกเป็นสองกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ 1.กลุ่มอนุรักษ์ที่ชื่นชมงานฝีมือ อยากอนุรักษ์เอาไว้ เก็บเป็นคอลเลคชั่น เผยแพร่สู่อนาคต 2.กลุ่มโมเดิร์นไลฟ์สไตล์ มีไว้ใช้สอยในชีวิตประจาวันหรือตกแต่ง ดังจะเห็นได้ภายในห้องสวีทหรือล็อบบี้โรงแรมหรูต่างๆ ช่วงหลังเน้นตกแต่งด้วยงานศิลปหัตถกรรมไทย ซึ่งภายในงานดังกล่าวได้ตระเตรียม “หัตถศิลป์ต้นแบบ” พร้อม “นักออกแบบ” อานวยความสะดวกแก่ผู้สนใจ โดย ศ.ศ.ป. ในฐานะองค์การมหาชน ยินดีเป็นสื่อกลางระหว่าง “ลูกค้า” กับ “ชุมชน” เป็นหน่วยงานกลางที่คอยรับออร์เดอร์, ควบคุมการผลิต, จัดส่ง รวมถึงให้คาแนะนาในเรื่องการดูแลรักษาสินค้า ฯลฯ เพื่อสร้างความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย ผู้สนใจนอกจากเดินทางเข้าชมและสั่งสินค้าได้ในงาน IICF 2013 นี้แล้ว ยังสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ www.sacict.net โทรศัพท์ 035-367-0549 ต่อ 1373-4
บันทึกภาพ: ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)