“ไฟน์ดิ้ง นีโม – ปลาเล็กหัวใจโต๊โต” ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยมในปี 2003 แอนิเมชั่นเรื่องนี้ยังถูกแสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์อีก 3 สาขา (บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม, ตัดต่อเสียงยอดเยี่ยม) และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม-ตลกหรือเพลงอีกด้วย ในปี 2008 สถาบันภาพยนตร์อเมริกันประกาศให้ “ไฟน์ดิ้ง นีโม – ปลาเล็กหัวใจโต๊โต” เป็น 1ใน 10 ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ดีที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ในช่วงเวลาที่หนังเข้าฉาย “ไฟน์ดิ้ง นีโม – ปลาเล็กหัวใจโต๊โต” เป็นภาพยนตร์ในเรท G (ทั่วไป) ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ทำรายได้สูงสุดทั่วโลกเป็นลำดับที่ 5 มียอดไลค์ในเฟสบุ๊คกว่า 19 ล้านไลค์ และตัวละคร “ดอรี่” เองก็มียอดไลค์กว่า 25 ล้านไลค์ ซึ่งถือเป็นตัวละครเดี่ยวๆ ที่มียอดไลค์มากที่สุดจากภาพยนตร์ของ ดิสนีย์ หรือ ดิสนีย์ พิกซาร์ เลยทีเดียวเชียว
FINDING DORY “ไฟน์ดิ้ง ดอรี่ – ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม” ดิสนีย์ พิกซาร์ ได้นำ “ปลาบลูแทงค์ขี้ลืม” ขวัญใจของทุกคนกลับมาอีกครั้ง โดยครั้งนี้ ดอรี่พร้อมกับเพื่อนๆของเธอ นีโม และ มาร์ลิน ต้องออกผจญภัยเพื่อค้นหาคำตอบเกี่ยวกับอดีตของดอรี่ เธอจำอะไรได้ ? ใครคือพ่อ-แม่ของเธอ ? และเธอไปเรียนพูดภาษาวาฬมาจากไหน? ผลงานการกำกับโดย แอนดริว แสตนตัน (“ไฟน์ดิ้ง นีโม”, “วอลล์-อี”) และอำนวยการสร้างโดย ลินด์ซีย์ คอลลินส์ (ผู้ช่วยอำนวยการสร้าง “วอลล์-อี”) พากย์เสียงโดย เอเลน ดีเจเนอร์เรส, อัลเบิร์ต บรูคส์, เอ็ด โอ’นีล, เคทลิน โอลสัน, ไทร์ เบอร์เรล, ยูจีน เลวี่, และไดแอน คีตัน “Finding Dory – ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม” จะว่ายตรงไปสู่โรงภาพยนตร์ในวันที่ 16 มิถุนายน 2559
“ผมมีเรื่องราวของตัวเลข และสิ่งที่น่ารู้ของหนังเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังครับ 13 ปีผ่านมาแล้วครับ นับตั้งแต่วันที่ “ไฟน์ดิ้ง นีโม–ปลาเล็ก หัวใจโต๊โต” ออกฉาย และเราก็ได้แนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก กับ นีโม,มาร์ลิน และ ดอรี่ จนมาถึง วันนี้ วันที่เราได้พา “ดอรี่” และเพื่อนๆ ของเขากลับมา พร้อมเพื่อนใหม่ๆ คุณจะได้ผจญภัยไปกับพวกเขาเหล่านี้ครั้งใหม่กันในไม่ช้า เจ้าดอรี่เป็นตัวละครที่มียอด 25,118,559 ไลค์บนเฟสบุ๊คซึ่งคือจำนวนที่มากที่สุดของตัวละครทุกตัว จาก พิกซาร์ ครับ 4 สาขารางวัล ที่หนังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สำหรับ “ไฟน์ดิ้ง นีโม” ซึ่งได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เป็นเรื่องแรกด้วยครับของพิกซาร์ที่ได้รับรางวัลนี้
แอนิเมชั่น จำนวน 289,240,840 เฟรม ได้ถูกสร้างขึ้นสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ครับ ซึ่งแอนิเมชั่นเฟรมคือตัวกำหนดจุดสำคัญของการเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่องของหนัง ของฉาก ซีน แต่ละซีน แต่ละตัวละครครับ การทำงานของเรา เราได้เขียนสตอรี่บอร์ดที่ถูกส่งไปยังขั้นตอนการตัดต่อ คือทั้งหมด 103,639 หน้าด้วยกัน ซึ่งที่ผ่านมา สตอรี่บอร์ดที่เคยถูกส่งไปของ “ทอย สตอรี่ 3” เพียงแค่ 49,651 นั่นหมายความว่าเกือบ 1 เท่าตัวเลยทีเดียวสำหรับการทำงานของหนังเรื่องนี้ สังเกตกันให้ดีน่ะครับ จำนวนชิ้นของปะการังที่ถูกใส่เข้าไปในฉาก 6 ฉาก โดยทีมตกแต่งฉาก มีจำนวน 26,705 ชิ้นด้วยกันครับ
อีกอย่างแน่นอนครับที่คุณคงอยากรู้ว่าปลาล่ะ ? ครั้งนี้ปลาที่ว่ายอยู่ในการจัดแสดงแบบมหาสมุทรเปิด ที่สถาบันวิจัยชีวิตทางทะเล สังเกตและดูกันให้ทันน่ะครับ เพราะมันมีจำนวนรวมทั้งหมด 16,091 ตัว อีกฉากหนึ่ง จำนวนปลากระเบน ที่อยู่ในฉากปลากระเบนย้ายถิ่นมีถึง 5,000 ตัวด้วยกันในภาพยนตร์ แล้วคุณก็จะได้เห็นปลาที่แตกต่างนานาพันธุ์หลายหลายชนิด ละลานตากันเลยทีเดียวเชียวล่ะ จำนวนที่มากถึง 1,108 ตัว คือปลาในส่วนกักกันของสถาบันวิจัยชีวิตทางทะเล ซึ่งมันมีทั้ง ขนาด , สี , อารมณ์ , ความเป็นธรรมชาติที่น่ารักแตกต่างกันออกไป
จุดขยับ 11,041 ถูกสร้างขึ้นเพื่อการจำลองการเคลื่อนไหวของ แฮงค์ (ปลาหมีก) โดยเฉพาะโดยเฉลี่ยแล้ว ตัวละครทั่วไปจะใช้ประมาณ 20 จุด ส่วน 350 คือ จำนวนปุ่มดูดของ แฮงค์ (ปลาหมึก) ทั้ง 7 หนวดจะมีหนวดละ 50 ปุ่มด้วยกันครับ 22 สัปดาห์ ที่ถูกใช้ไปกับการใส่แสงเงาให้แฮงค์ เพื่อให้เขามีพื้นผิวและสีที่พิเศษเช่นเดียวกับการทำให้การพรางตัวของเขาเป็นไปได้ (ตัวละครทั่วไปใช้เวลาน้อยกว่า 8 สัปดาห์) แล้วจำนวนผู้เข้าชมของสถาบันวิจัยชีวิตทางทะเล คือ จำนวน 746 คน ซึ่งไม่น้อยเลยทีเดียว หนวดของไม้เลื้อย จำนวน 319 ถูกใส่เข้าไปในดอกไม้ทะเลแต่ละดอกในมหาสมุทร
จำนวนพนักงานของสถาบันวิจัยชีวิตทางทะเลที่ปรากฏตัวในหนัง คือ 83 คน ทีมผู้กำกับด้านเทคนิคที่รับผิดชอบในการสร้างและประกอบร่างแฮงค์ขึ้นมา ใช้เวลาไป 118 สัปดาห์ ในการทำงาน 51 นาทีเต็มๆ ในหนังเรื่องนี้ เป็นฉากที่มีฝูงตัวละครอยู่ในฉากเดียวกัน ซึ่งมากกว่าเป็น 2 เท่าของหนังเรื่องอื่นๆ ของหนังจากค่ายพิกซาร์ ต้นไม้ที่ขยับได้ถูกใส่เข้าไปในแต่ละส่วนของสาหร่ายทะเล ในดงสาหร่างทะเลใต้น้ำภายนอกสถาบันวิจัยชีวิตทางทะเล มี 45 ก้านด้วยกันน่ะครับ วันที่ 16 เดือนมิถุนายน นี้ ที่ “ไฟน์ดิ้ง ดอรี่–ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม” จะเข้าฉายอย่าลืมไปนับเจ้าจำนวนตัวเลขมหัศจรรย์กันเหล่านี้ในโรงภาพยนตร์กันน่ะครับ” แอนดริว แสตนตัน ผู้กำกับ
บันทึกภาพ: ฝ่ายประชาสัมพันธ์